ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS


การทดสอบแป้งด้วยสารละลายไอโอดีน


แป้ง (Starch)

พืชเก็บกลูโคสในรูปแป้งซึ่งเป็นพอลิแซกคาไรด์ อยู่ในธัญพืชต่าง ๆ เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ รวมทั้งในหัว เช่น มันฝรั่ง มันเทศ สารถแยกแป้งได้เป็น 2 ส่วน คืออะไมโลส (amylose) และอะไมโลเพกติน (amylopectin) แป้งธรรมชาติมีส่วนผสมของอะไมโลส 10-20% และอะไมโลเพกติน 80-90%
การทดสอบทางเคมีสำหรับแป้งและไอโอดีน :
อะไมโลสในแป้งจะมีโครงสร้างยาวและม้วนขดตัวเมื่อมีโมเลกุลของไอโอดีน ทำให้เกิดสารเชิงซ้อน โดยโมเลกุลของไอโอดีนอยู่ภายใน และมีขดของอะไมโลสม้วนขดอยู่รอบ ๆ ได้สารเชิงซ้อนที่มีน้ำเงิน
ใช้สารละลายไอโอดีน ทดสอบทดสอบคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลใหญ่ ดังนี้
แป้ง
+
สารละลายไอโอดีน
ได้
สีน้ำเงินเข้ม
ไกลโคเจน
+
สารละลายไอโอดีน
ได้
สีน้ำตาลแกมแดง
เซลลูโลส
+
สารละลายไอโอดีน
ได้
ไม่พบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ






เสร็จแล้วครับการทดสอบแป้งลองนำไปทดลองดูนะครับ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสััตว์


การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์


การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์
 
      สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต จึงต้องมีการเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ให้ลูกหลานได้ ซึ่งเป็นการเรียนรู้พฤติกรรมบางอย่างของสัตว์ เช่น การปรับตัว การตอบสนอง และพฤติกรรมบางชนิด เนื่องจากการรับความรู้สึก และมีการโต้ตอบสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวได้ไว ซึ่งเรียกว่า สิ่งเร้า ส่วนพฤติกรรมหรืออาการที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของสัตว์แสดงออกหรือปรากฏให้เห็นเมื่อถูกสิ่งเร้ามากระตุ้น ณ ชั่วขณะหนึ่งเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์หรือการแสดงออกเมื่อมีสิ่งมากระตุ้นสามารถมองเห็นได้ไม่ยากนักโดยมีขั้นตอนดังนี้

 
Smileสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ    

       1. สิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นจากภายใน เช่น ฮอร์โมน ทำให้สัตว์ต่างเกิดความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นในร่างกาย               

       2. สิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นจากภายนอก เช่น แสงสว่าง อุณหภูมิ อาหาร น้ำ การสัมผัส การเคลื่อนไหว เป็นต้น ขั้นตอนแสดงดังกล่าวนั้นสัตว์สามารถแสดงพฤติกรรมบางอย่างเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้งภายใน และภายนอกได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของสิ่งเร้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อความปลอดภัยและการอยู่รอดของชีวิต


Smileการรับรู้ และการตอบสนอง
       เคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ในขณะที่    อากาศร้อนจัดร่างกายของสัตว์จะมีการขับเหงื่อออกมามาก แต่เมื่อเข้าไปในที่อากาศเย็นสบายจะมีเหงื่อออกน้อยลง แสดงว่าร่างกายมีระบบที่รับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม และถ่ายทอดการรับรู้ไปยังหน่วยแปลความรู้สึก พร้อมทั้งออกคำสั่งให้หน่วยปฏิบัติงานทำงาน โดยปกติการตอบสนองของสัตว์จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อ ระบบประสาทจะมีการควบคุมการตอบสนองที่เกิดขึ้น และสิ้นสุดเร็ว เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้การเกิดการเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว ขณะที่ระบบต่อมไร้ท่อ จะควบคุมการตอบสนองที่เกิดช้ากว่า แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น การเจริญของเซลล์ไข่ในรังไข่อย่างไรก็ตามแม้ทั้ง 2 ระบบ จะทำงานแตกต่างกันแต่ทำงานสัมพันธ์กันจึงเรียกว่า ระบบประสานงาน

Smileการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม               
      สัตว์ที่อาศัยอยู่บนบก และน้ำมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิต หลบภัย และการเคลื่อนที่ที่เหมาะสม เช่น

Smileการปรับตัวของสัตว์บก

       1. การมีสิ่งปกคลุมร่างกาย เช่น หมีขั้วโลกจะมีขนที่หนาปกคลุมทั่วตัว สิงโตทะเลมีหนังที่หนา และมีชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นได้

       2. การปรับรูปร่างลักษณะ โดยการปรับร่างกายให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม เช่น ตั๊กแตนตำข้าวจะมีสีเขียวกลมกลืนกับใบไม้ ตั๊กแตนกิ่งไม้จะมีสีน้ำตาลกลมกลืนกับเปลือกของลำต้นไม้ ผีเสื้อ และปลาบางชนิดจะปรับรูปร่างตามสภาพแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อช่วยให้พ้นจากการถูกล่าเป็นเหยื่อ หรือการปรับตัวในลักษณะอยู่นิ่งๆ ไม่ให้เหยื่อสังเกตเห็น เช่น จระเข้ เมื่อเหยื่อเข้ามาใกล้ก็จะจับกินเป็นอาหาร

       3. การปรับตัวของสัตว์ในลักษณะอื่น เช่น เก้ง และกวางมีขาที่แข็งแรง ช่วยให้วิ่งหนีศัตรูได้เร็ว ยีราฟมีคอยาวเพื่อกินใบไม้ตามต้นไม้ แมงป่อง และงูจะปล่อยพิษเพื่อป้องกันตัวเองหรือเมื่อจะจับเหยื่อ เสือ และสิงโตมีฟันที่คม และแข็งแรง เพื่อแกเนื้อสัตว์ที่เป็นเหยื่อได้ง่าย และรวดเร็ว นก แมลง และค้างคาว มีโครงสร้างที่มีปีก และน้ำหนักเบาเพื่อช่วยบินได้เร็ว เป็นต้น
Smileการปรับตัวของสัตว์น้ำ

       1. การมีรูปร่างเรียวยาว เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ไปในน้ำได้เร็วมากขึ้น

       2. การมีครับ เพื่อโบกพัดน้ำมาให้ลำตัวเคลื่อนที่ไปได้

       3. การปรับระบบการหายใจ เช่น แมวน้ำ วาฬ และสิงโตทะเลจะใช้จมูกหายใจในขณะที่อยู่บนบก แต่เมื่อลงไปอยู่ใต้น้ำ จะปิดจมูก ส่วนปลา กุ้ง

       4. ลูกอ๊อดมีเหงือกสามารถหายใจเอาออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำได้ โดยไม่ต้องขึ้นมาหายใจเหนือน้ำ เป็นต้น 


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

โฆษณาแบบขำๆ







เป็นโฆษณาเครื่องดื่มของต่างประเทศแบบขำๆ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS








พืชมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยการเบนเข้าหาแสง
เพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทำให้ได้
พลังงานออกมาที่อยู่ในรูปของน้ำตาลแล้วเก็บสะสม
ตามส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ เป็นต้น
ซึ่งอยู่ในรูปของแป้ง

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS